หมากล้อมในยุคสมัยก่อนราชวงศ์ถัง

0

สมัยชุนชิวถึงสมัยสองฮั่น หมากล้อมค่อยๆแพร่หลาย

สมัยสามก๊ก หมากล้อมมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

สมัยสองจิ้น หมากล้อมปราชญ์ปัญญาชน

สมัยราชวงศ์เหนือและใต้ หมากล้อมเฟื่องฟูอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

สมัยสุยถัง หมากล้อมกับจินตกวี

สมัยอู่ไต้ หมากล้อมในหมู่ผู้คนยากไร้

W020090515305623376643

สมัยจิ๋นฮั่น – สมัยสามก๊ก

เมื่อตอนราชวงศ์จิ๋นปราบหกก๊กรวมแผ่นดินเป็นหนึ่ง มีบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับหมากล้อมอยู่บ้าง ในบันทึก “ซีจิงจ๋าจี้” ในช่วงต้นสมัยฮั่นตะวันตกมีกลอนเกี่ยวหับหมากล้อมบันทึกไว้ว่าว่า “นายตู้หลิงตู้ชำนาญในการเดินหมาก เป็นที่หนึ่งในยุทธภพ” แต่ว่าบันทึกจำพวกนี้มีอยู่น้อยมาก แสดงให้เห็นว่าพัฒนาการของหมากล้อมในสมัยนั้นค่อนข้างเชื่องช้า  พอมาถึงต้นสมัยฮั่นตะวันออก สังคมให้ความสำคัญกับเรื่องอื่นๆ ส่วนเรื่องหมากล้อมนั้นแทบจะไม่มีเลย จวบจนเข้าถึงยุคกลางถึงปลายสมัยฮั่นตะวันออก หมากล้อมจึงค่อยๆกลัยมาเฟื่องฟูอีกครั้ง  เมื่อค.ศ. 1952 นักโบราณคดีได้พบกระดานหมากล้อมที่ทำจากหินที่สุสานตงฮั่นมู่หมายเลขหนึ่ง เมืองวั่งตู มณฑลเหอเป่ย กระดานชุดนี้มีรูปร่างสี่เหลี่ยมจตุรัส ใต้กระดานมีสี่ขา บนกระดานมีเส้นตัดกันขนาด 17 เส้น ถือเป็นขนาดกระดานหมากล้อมที่ใช้กันในสมัยฮั่นเว่ย ในช่วงระหว่างร้อยกว่าปีในสมัยฮั่นเว่ยนี้ มีการสงครามกันมากมาย หมากล้อมก็ได้กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้พัฒนาระดับสติปัญญาของบรรดาแม่ทัพนายกอง ในสมัยฮั่นตะวันออก หม่าหรงได้กล่าวไว้ใน “บทประพันธ์หมากล้อม” กล่าวว่า หมากล้อมเปรียบเสมือนสมรภูมิขนาดย่อย การเดินหมากเปรียบดั่งทหารทำสงคราม “กระดานสามฟุตนี้, ก็คือสมรภูมินั่นแล ; เหล่าบรรดาทหารทั้งหลาย, ต่างฝ่ายต่างพอๆกัน”  ในสมัยนั้น มีนักการศึกที่มีชื่อเสียงหลายนาย เช่น แม่ทัพในสมัยสามก๊กอย่างโจโฉ ซุนเช่อ หลู่ซวิ่น ล้วนเป็นผู้มีฝีมือทั้งการศึกและหมากล้อม หนึ่งในเจ็ดวีรบุรุษแห่งเจี้ยนอานที่โด่งดังอย่างหวังช่าน นอกจากจะมีผลงานการประพันธ์ที่มีชื่อเสียงไปทั่วหล้าแล้ว ขณะเดียวกันก็ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านหมากล้อมด้วย เล่ากันว่าหวังช่านมีความสามารถในการจำที่สุดยอด มีความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งในรูปหมากและกระบวนท่าต่างๆ สามารถจดจำรูปหมากที่เล่นเละเทะได้ใหม่ไม่มีพลาดสักเม็ดเดียว

gudaiweiqi

ในเรื่องประวัติความเป็นมาของกติกาหมากล้อมจีน มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสองครั้ง เรื่องที่สำคัญคือ การเพิ่มเส้นบนกระดาน  ในช่วงสมัยก่อนหรือหลังเว่ยจิ้น เป็นช่วงสมัยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญครั้งแรก ในบันทึก “อี้จิง” กล่าวว่า “ในสมัยเว่ยจิ้นและก่อนหน้านี้ กระดานหมากล้อมมีเส้นตัดกัน 17 เส้น รวมเป็น 289 จุดตัด เม็ดหมากขาวและเม็ดหมากดำ สีละ150 เม็ด” ซึ่งเหมือนกับชุดกระดานหินที่พบที่เมืองวั่งตู มณฑลเหอเป่ยที่ใช้เป็นขนาดกระดานในสมัยฮั่นตะวันออกทุกประการ  แต่ว่าในคัมภีร์หมาก “ฉีจิง” แห่งสมัยหนานเป่ยที่พบที่มณฑลกานซู่กลับบันทึกว่า “กระดานหมากล้อมที่ใช้ในสมัยนั้นมี 361 จุดตัด นับเหมือนระบบการนับวัน” แสดงว่ากระดานหมากล้อมขนาด 19 เส้นเริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยนี้แล้ว เป็นรูปแบบที่เหมือนกับปัจจุบันทุกประการ แสดงให้เห็นว่า หมากล้อมในสมัยนั้นเป็นช่วงเริ่มแรกในการปรับรูปแบบของหมากล้อมให้เป็นดั่งแบบปัจจุบัน

สมัยราชวงศ์เหนือและใต้

เนื่องจากในสมัยราชวงศ์เหนือและใต้ เกิดความสนใจเรียนหมากล้อมกัน ทำให้บรรดาปัญญาชนผู้รู้หนังสือหันมาสนใจหมากล้อมและทำให้หมากล้อมยิ่งแพร่หลายมากยิ่งขึ้น การเดินหมากล้อมได้รับขนานนามว่าเป็น “การสื่อสารผ่านมือ” นักการเมืองระดับสูงก็ชื่อนชอบในการเล่นหมากล้อม พวกเขาใช้หมากล้อมในการจัดการราชสำนัก สร้างระบบ “ระดับฝีมือหมากล้อม” ขึ้นมา มอบวุฒิระดับฝีมือที่เหมาะสมให้กับนักหมากล้อมที่มีฝีมือในแต่ละขั้น  ในขณะนั้นมีระดับฝีมือแบ่งเป็นทั้งหมด 9 ขั้น  ในบันทึก “”หนานสื่อ” บันทึกว่า จักรพรรดิเหลียงอู่ตี้ชื่นชอบในการเดินหมาก จัดการแข่งขันใหญ่ขึ้น มีผู้มาร่วมแข่งจำนวนมาก หลังจบการแข่งขัน มีผู้ที่ได้ระดับฝีมือเป็นดั้งทั้งหมดสองร้อยเจ็ดสิบแปดคน  จากบันทึกนี้เห็นได้ถึงความแพร่หลายในการเล่นหมากล้อมในสมัยนั้น  หมากล้อมในญี่ปุ่นที่แบ่งเป็น “9 ดั้ง” ก็มีที่มาจากตรงนี้

gudaiweiqi2

สมัยสุย

เนื่องจากกระดานขนาด 19 เส้นได้เข้ามาแทนที่กระดานขนาด 17 เส้นในสมัยก่อน  นับจากนี้ กระดาน 19 เส้นจึงกลายเป็นกระดานขนาดมาตรฐาน และตามนโยบายทางการทูตของจักรพรรดิราชวงศ์สุย เกาจวี้ลี่และซินหลัวไป่ฉีได้นำหมากล้อมไปยังคาบสมุทรเกาหลี  และส่งทูตของสุยนำหมากล้อมไปยังญี่ปุ่นอีกด้วย

weiqigudaipan

ขอบคุณข้อมูจาก

http://games.sports.cn/zhuanti/wqgm/hc/2010-01-06/1948711.html

http://senseis.xmp.net/?GoHistory

แปลและเรียบเรียงโดย ธนพล เตียวัฒนานนท์ (ณฐ 4ดั้ง)